รู้หรือไม่ว่าการชาร์จ แบตเตอรี่ เครื่องสำรองไฟฟ้าแบบผิดวิธีอาจทำให้แบตเตอรี่เสียหายหรือเสื่อมสภาพได้ไวมากขึ้นกว่าเดิม Syndome จึงขแนะนำวิธีการชาร์จแบตเตอรี่เครื่องสำรองไฟฟ้าอย่างถูกต้อง รวมไปถึงการดูแลแบตเตอรี่ให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน ไม่เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร!
เครื่องสำรองไฟฟ้า รุ่น ECO II-1000-LCD (1000VA/630Watt)
หน้าที่ของเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) คือสำรองไฟฟ้าเอาไว้ในแบตเตอรี่แล้วจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อไฟฟ้าหลักดับกะทันหัน เพื่อให้คุณมีเวลามากพอที่จะบันทึกข้อมูลต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วปิดเครื่องแบบ Shutdown ให้ถูกต้องตามขั้นตอน หรือเพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอันแสนสำคัญยังทำงานต่อไปอีกได้
โดยกระแสไฟฟ้าสำรองเหล่านั้นมาจากแบตเตอรี่ในเครื่องสำรองไฟฟ้าที่คุณได้ชาร์จเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นคุณจึงต้องคอยชาร์จแบตเตอรี่เครื่องสำรองไฟฟ้าและดูแลรักษาให้ดีเพื่อให้แบตเตอรี่ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันสมควร
วิธีชาร์จ แบตเตอรี่ เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)
- เชื่อมต่อสายชาร์จไฟฟ้าเข้ากับ UPS ที่ด้านหลังเสียก่อน แต่เครื่องสำรองไฟฟ้าบางยี่ห้ออาจติดตั้งสายไฟฟ้ามาให้แล้วเรียบร้อย คุณไม่ต้องมาต่อเองให้วุ่นวาย
- อย่าเพิ่งเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ากับเครื่องสำรองไฟฟ้า
- เสียบปลั๊กเครื่องสำรองไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายพลังงาน
- เชื่อมต่อเครื่องไฟฟ้าที่ต้องการใช้งานกับเครื่องสำรองไฟฟ้าได้
- กดปุ่มเปิดเครื่องสำรองไฟฟ้าค้างไว้ 1 วินาที หน้าจอ LCD จะปรากฏคำว่า Power on และเครื่องสำรองไฟฟ้าจะเข้าสู่โหมด Line mode เครื่องจะดึงไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าหลักมาจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนไฟฟ้าในแบตเตอรี่ก็จะถูกเก็บไว้ใช้ในกรณีที่ไฟดับกะทันหัน
การใช้งานและดูแลรักษา แบตเตอรี่ เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)
Syndome เคยนำเสนอวิธีการดูแล “เครื่องสำรองไฟฟ้า” ให้ใช้ได้นานไปแล้วถึง 8 วิธีด้วยกัน แต่ครั้งนี้ขอเพิ่มเติมและเน้นเรื่องการดูแลและใช้งานแบตเตอรี่ให้ถูกต้อง ซึ่งวิธีเหล่านั้นก็ไม่ยากเลย
- เสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าเครื่องสำรองไฟฟ้าเอาไว้ตลอดเวลา เมื่อแบตเตอรี่เต็ม ระบบจะตัดไปใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหลักโดยตรง เมื่อไฟฟ้าดับจึงจะดึงเอาไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ออกมา
- ทดสอบสภาพแบตเตอรี่เครื่องสำรองไฟฟ้าเดือนละครั้ง เพื่อเช็กว่าแบตเตอรี่เริ่มเสื่อมสภาพและต้องเปลี่ยนใหม่หรือยัง ซึ่งโดยปกติแล้วแบตเตอรี่จะมีอายุใช้งาน 2-3 ปี โดยวิธีทดสอบทำได้โดยการถอดปลั๊กเครื่องสำรองไฟฟ้าออกจากแหล่างจ่ายไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องสำรองไฟฟ้าจ่ายไฟจากแบตเตอรี่แทน แล้วสังเกตว่าระยะเวลาการสำรองไฟเป็นไปตามปกติไหม อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เซลล์แบตเตอรี่ให้มีการใช้งานเป็นประจำเพื่อยืดอายุการใช้งานอีกด้วย
- ไม่จำเป็นต้องถอดปลั๊กเครื่องสำรองไฟฟ้าออกเมื่อไม่ใช้งาน เพราะการใช้ไฟฟ้าใน Mode Stand by กินไฟน้อยมาก และยังเป็นการคายประจุเก่าออกมาเพื่อรับประจุใหม่เข้าไป ซึ่งเป็นการกระตุ้นเซลล์แบตเตอรี่ได้เป็นอย่างดี
- หากแบตเตอรี่เครื่องสำรองไฟฟ้าหมด ต้องรีบชาร์จภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้แบตเตอรี่เสียหายหรือเสื่อมสภาพแบบถาวรจนใช้งานไม่ได้อีกเลย
เต้ารับด้านหลังเครื่องสำรองไฟฟ้า Syndome
การเชื่อมต่อสายไฟกับเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)
หลังจากชาร์จแบตเครื่องสำรองไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อยก็ได้เวลาใช้งานแล้ว คุณจะต้องดูที่ด้านหลังเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) ซึ่งจะมีเต้ารับอยู่หลายช่อง คุณอาจสงสัยว่าแล้วต้องเสียบช่องไหนกันแน่ถึงจะใช้ไฟฟ้าสำรองได้ หลัก ๆ แล้วด้านหลังเครื่องสำรองไฟฟ้า Syndome จะมีจำนวนช่องเสียบหรือเต้ารับแตกต่างกันไปตามรุ่นและขนาดกำลังไฟฟ้า โดยเต้ารับเหล่านั้นจะแบ่งการใช้งานเป็น 2 ประเภท
- เต้ารับสำหรับจ่ายไฟฟ้าสำรอง (Backup) ใช้สำหรับเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการการสำรองไฟฟ้าในกรณีที่ไฟฟ้าดับ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา
- เต้ารับสำหรับกันไฟฟ้ากระชาก (Surge Protect/Bypass) เอาไว้กันไฟกระชากโดยเฉพาะ แต่จะไม่สามารถใช้ไฟฟ้าสำรองได้ จึงเหมาะสำหรับเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ เช่น ปรินเตอร์
หากคุณเสียบสายเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดช่อง ไปเสียบที่เต้ารับกันไฟฟ้ากระชาก เมื่อไฟฟ้าดับกะทันหัน เครื่องคอมพิวเตอร์จะดับลงเพราะเต้าเสียบช่องนี้ไม่มีการจ่ายไฟฟ้าสำรองนั่นเอง ดังนั้นต้องเสียบให้ถูกต้องกับประเภทการจ่ายไฟฟ้า
หากคุณมองหาเครื่องสำรองไฟฟ้าอยู่ ขอแนะนำเครื่องสำรองไฟฟ้าแบรนด์ Syndome ซึ่งมีศูนย์บริการทั่วประเทศไทยกว่า 15 สาขา (ดูรายชื่อศูนย์บริการได้ที่นี่) มีการรับประกันสินค้า มีบริการซ่อมเครื่องสำรองไฟ มีศูนย์ Call Center และช่องทางติดต่อออนไลน์อย่าง Facebook: Syndome UPS ตลอด 24ชั่วโมง หากมีปัญหาใด ๆ ทีมงานพร้อมช่วยเหลือและให้คำแนะนำอย่างเต็มที่